ออนไลน์ : 22
ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
เทศบาลตำบลดงแดง ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“ เศรษฐกิจมั่นคง ธำรงวัฒนธรรมไทย ปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ สุขภาพดีถ้วนหน้า พัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ”
|
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการเกษตร การเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์
(1) มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สะดวกครบถ้วน
(2) มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีงานทำ สวัสดิการดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน/สังคมมีความปลอดภัย
(3) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริม พัฒนาการเกษตร การเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
(5) ส่งเสริม สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
(1) ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำใช้สำหรับอุปโภค - บริโภคและการเกษตรอย่างพอเพียง
(2) ประชาชนได้รับการช่วยเหลือด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันโรค การควบคุมโรค และการช่วยเหลือประชาชน หรือบรรเทาความเดือดร้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) และได้รับการบริการสาธารณสุขอื่นๆ อย่างทั่วถึง
(3) โรงเรียน สพฐ. 5 แห่ง ได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม
(4) ศพด. 3 แห่ง ได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม รวมทั้งพัฒนาอาคารสถานที่และระบบบริหารจัดการ
(5) เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรม
(6) ผู้ดูแลเด็กเล็กได้รับการพัฒนาประสิทธิในการปฏิบัติงาน
(7) เด็กเล็กได้มีความรู้ และมีทักษะเพิ่มขึ้น
(8) มีวัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
(9) อาสาสมัครในการช่วยเหลือชุมชนและประสานงานในชุมชน
(10) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 5%
(11) ส่งเสริมสวัสดิการสังคม สงเคราะห์ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูอายุ 16 หมู่บ้าน
(12) กลุ่มสตรี อสม. ได้ทำกิจกรรม ร่วมกัน และสร้างความสามัคคี
(13) ประชาชนในเทศบาลตำบลดงแดงมีรายได้เพิ่มขึ้น
(14) จัดวางผังเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามมาตรฐาน
(15) ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง 16 หมู่บ้าน
(16) ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
(17) ส่งเสริมขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 16 หมู่บ้าน
(18) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชนและจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆทั้ง 16 หมู่บ้าน
(19) ส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง 16 หมู่บ้าน
(20) การจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการภายในองค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น 16 หมู่บ้าน
(21) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารงาน
(22) ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 16 หมู่บ้าน
(23) ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่างๆ 16 หมู่บ้าน
(24) ส่งเสริมการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยประจำหมู่บ้าน/ตำบลและทีมกู้ชีพกู้ภัยตำบล 16 หมู่บ้าน
(25) สนับสนุนให้มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันและการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ
(26) เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามประชาชนเห็นประโยชน์ของการปลูกป่า
(27) ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของ 16 หมู่บ้าน
(28) การกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลอย่างถูกวิธี 16 หมู่บ้าน
ค่าเป้าหมาย
(1) มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
(2) ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง
(3) ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านเกษตร
(4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(5) การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
(6) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย
(7) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น
(8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาธรรมาภิบาลดีขึ้น
(9) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(10) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(1) งานด้านการคมนาคม การก่อสร้าง การปรับปรุง การบำรุงรักษาถนน สะพานทางระบายน้ำ
(2) งานด้านการก่อสร้าง การปรับปรุง การบำรุงรักษา สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ไฟฟ้า
(3) งานด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
(1) งานด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
(2) งานด้านการ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
(3) งานด้านการสนับสนุนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(4) งานด้านการส่งเสริม สนับสนุนด้านการจราจร
(5) งานด้านการสนับสนุน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(6) งานด้านการสนับสนุน เสริมสร้างความเข้มแข็งกับชุมชน
(7) งานด้านการส่งเสริม สนับสนุน การกีฬาและนันทนาการ
(8) งานด้านการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรอื่น ๆ
(9) งานด้านการส่งเสริม ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
(10) งานด้านการการพัฒนา บริหารจัดการองค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(1) งานด้านการส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา
(2) งานด้านการสนับสนุนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ ประชาชน
(3) งานด้านการส่งเสริม สนับสนุน จารีต ประเพณี / ศาสนาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการส่งเสริมการเกษตร การเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
(1) งานด้านการสนับสนุนการพัฒนาให้ความรู้และส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน
(2) งานด้านการพัฒนา คุณภาพ ฝีมือ แรงงาน ความรู้และทักษะอาชีพให้กับประชาชน
(3) งานด้านการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
(4) งานด้านการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพข้าวหอมมะลิเพื่อเพิ่มผลผลิตแต่ยังคงคุณภาพและเอกลักษณ์
(5) งานด้านการบำรุงรักษา ปรับปรุงพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ศาสนสถานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่างๆ
(6) งานด้านการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของจังหวัด
(7) งานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
(8) งานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(1) งานด้านการส่งเสริมการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชน
(2) งานด้านการบริหารจัดการขยะ
(3) งานด้านการปรับปรุง และพัฒนาสวนสุขภาพในชุมชน
(4) งานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การบำรุงรักษาป่าและน้ำ
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ด้วยเทศบาลตำบลดงแดงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับ
การพัฒนาในอนาคต โดยได้ดำเนินการจัดทำให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาชาติ ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ กระบวนการ ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ตลอดทั้งแนวทางในการพัฒนาที่กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วงบรรลุตามวัตถุประสงค์
การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
จุดแข็ง (Strength) | จุดอ่อน(Weakness) |
1. มีถนนในการคมนาคม การสัญจร คลอบคลุมทุกพื้นที่ 2. มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน 3. มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ 4. มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค |
1. ถนนที่ใช้ในการสัญจร ยังเป็นถนนลูกรังอยู่บางส่วน 2. ถนนที่ใช้ในการสัญจรเป็นหลุม บ่อและมีฝุ่นละออง |
โอกาส (Opportunity) | อุปสรรค (Threat) |
1. ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจร และการขนส่งสินค้า | 1. งบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงมีไม่พียงพอ |
จุดแข็ง (Strength) | จุดอ่อน(Weakness) |
1. ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้รับสวัสดิการจากรัฐ 2. ประชาชนได้รับบริการในด้านสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึง 3. มีการส่งเสริมด้านความเข้มแข็งของชุมชน 4. มีการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล |
1. ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของเทศบาล 2. บุคลาการไม่ได้รับการฝึกอบรม |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตรการพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
โอกาส (Opportunity) | อุปสรรค (Threat) |
1. ประชาชนได้รับการบริการจากเทศบาลได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ | 1. ระเบียบข้อบังคับบางอย่างไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
จุดแข็ง (Strength) | จุดอ่อน(Weakness) |
1. บุคลากรมีความรู้ ทักษะ เฉพาะด้าน 2. เด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะเหมาะสม ทุกด้าน 3. พื้นที่มีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ 4. มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบภารกิจโดยตรง |
1. ภารกิจที่รับผิดชอบมีจำนวนมาก 2. ไม่มีการรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น |
โอกาส (Opportunity) | อุปสรรค (Threat) |
1. ประชาชนได้เข้าร่วมประเพณีสำคัญๆของท้องถิ่น 2. ร่วมสืบสานประเพณีสำคัญของท้องถิ่น |
1. การเข้าร่วมกิจกรรมต้องมีของตอบแทน 2. คนรุ่นหลังไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรม |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการเกษตร การเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
จุดแข็ง (Strength) | จุดอ่อน(Weakness) |
1. ส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ป่า 3. ส่งเสริมแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง |
1. ประชาชนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ทั่วถึง 2. ระเบียบข้อบังคับบางอย่างไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน |
โอกาส (Opportunity) | อุปสรรค (Threat) |
1. ประชาชนได้รับการส่งเสริมการดำเนินงานจากเทศบาลได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ | 1. งบประมาณที่ใช้ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ มีไม่พียงพอ |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จุดแข็ง (Strength) | จุดอ่อน(Weakness) |
1. ส่งเสริมการปลูกป่า 2. ในพื้นที่มีป่าไม้ 3. มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ 4. มีบริการจัดเก็บขยะ |
1. ประชาชนบางส่วนยังขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์ รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือใน การคัดแยกขยะเท่าที่ควร |
โอกาส (Opportunity) | อุปสรรค (Threat) |
1. ประชาชนได้รับการส่งเสริมการดำเนินงานจากเทศบาลได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ | 1. งบประมาณที่ใช้ในการดูแล รักษา มีไม่พียงพอ |
View : 567