×
แชทกับหน่วยงาน
เทศบาลตำบลดงแดง
ยินดีให้บริการค่ะ....
local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
แผ่นพับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและสินค้า OTOP ตำบลดงแดง


ชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี บ้านผือฮี หมู่ที่ 11 หอไตรพันปี มากมีผลิตภัณฑ์ สืบสานวัฒนธรรม ชุมชน OTOP นวัตวิถี บ้านผือฮี หมู่ ที่ 11 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน





ข้อมูลติดต่อ
ที่อยู่:บ้านผือฮี หมู่ 11 ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด 45180 เบอร์โทรศัพท์:0817999665
ป่าชุมชนดงหนองเอียด
ป่าดงหนองเอียด ป่าชุมชนดงหนองเอียดเป็นป่าชุมชนสาธารณประโยชน์ ได้รับการรังวัด และออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 เลขที่ 10685 มีเนื้อที่จำนวน 667ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา (หนองบัวปัดน้ำสาธารณประโยชน์)
ภาพถ่ายป่าดงหนองเอียด











วัดไตรภูมิบ้านผือฮี
ตามประวัติได้บอกไว้ว่า วัดไตรภูมิตั้งอยู่ที่บ้านผือฮี หมู่ที่ 11 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวัดเก่าแก่ มีหอไตรกลางน้ำอายุกว่า 1,000 ปี ซ่ึงหอไตรดังกล่าวเป็นที่เก็บพระคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นอักษร ภาษาโบราณ บางคนเรียกว่าตัวธรรม ซึ่งมีผู้เฒ่าบางคนเท่านั้นที่สามารุอ่านออก โดยบอกเล่าต่อกันมาว่า เป็นบันทึกเรื่องเกี่ยวกับตำรายาโบราณ เป็นต้น และยังมีพระอุโบสถเก่าอีก 1 หลัง ซึ่งหอพระไตรปิฎกหลังนี้นั้น ได้มีการชำรุดไปบ้างบางส่วน โดยเจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านได้ทำการเปลี่ยนเสาแล้วนำลูกกรงมาใส่ด้านข้างของหอพระไตรปิฎกนั้น ปัจจุบันมีพระครูศุภจริยาภิวัตน์ (สมพิษ สวโจ) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลดงแดง วัดไตรภูมิเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษา ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนได้มาใช้ศาลาการเปรียญของที่วัด เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและอบรกิจกรรมต่างๆ อยู่เป็นประจำ และในตอนนี้พระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาสได้ก่อสร้างศาลาปฏฺบัติธรรมขึ้นอีก 1 หลัง เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตลอดทั้งใช้ประชุมและอบรมเยาวชนทั้งในอำเภอจตุรพักตรพิมานและใกล้เคียงโดยวัดยังเป็นศูนย์ศึกษาศาสนาวันอาทิตย์ ซ่ึงมีนักเรียนประมาณ 1,000 คน วัดไตรภูมิตั้งขึ้นเมื่อปี 2431 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการสร้างหอไตรและสิมตามลำดับ หอไตรวัดไตรภูมิ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2540 ลักษณะของหอไตร ตั้งอยู่กลางน้ำ สร้างด้วยไม้ อยู่บนผนังสี่เหลี่ยมจตุรัสหันไปทางทิศใต้ พื้นที่ตรงกลางทำเป็นห้องโถงไว้เก็บคัมภีร์โบราณ ทำลวดลายปิดทองผนังโดยรอบ ส่วนบริเวณภายนอกห้องโถงให้เป็นทางเดินและทำระเบียงติดกรงรอบด้าน หลังคามุงทรงมลฑปซ้อนชั้นหลังคาจตุรมุข โดยแต่เดิมหลังคามุงได้กระเบื้องดินขอ ต่อมาเปลี่ยนเป็นไม้และกระเบื้องดินเผาในปัจจุปัน ลักษณะของสิม มีลักษณะเป็นสิมโปร่ง ฐานทำเอวขัน โครงสร้างส่วนเครื่องบนและเครื่องประกอบสถานปัตยกรรมต่างๆทำด้วยไม้ และแกะสลักกลายตามความนิยมพื้นถิ่น หลังคาจั่วมีปีกนกโดยรอบโดยแต่เดิมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินขอ จากนั้นเปลี่ยนเป็นสังกะสีและเป็นกระเบื้องดินเผาในปัจจุบัน
ภาพถ่ายวัดไตรภูมิบ้านผือฮี



บึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนา ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามาเมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 12-15 มี หลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน ในพุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรม จากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก แต่หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อ มาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์ เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอ มาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้ บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งด้วยสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ ภาย ในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ด มากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ นาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
ภาพถ่ายบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐม เจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์ ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์ ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรีเคยบำเพ็ญธรรมมา ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร แห่งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงรวบรวมเรื่องราวของครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นศูนย์กลางสำหรับไว้ให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสักการะบูชาสืบไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและพลังศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และต่อหลวงปู่ศรีของชาวร้อยเอ็ด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ซึ่งร่วมใจบริจาคทรัพย์ตามกำลังจนเกิดเป็นพระมหาเจดีย์ยิ่งใหญ่ดังที่เห็น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ปีพุทธศักราช 2531 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้มีบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2531 มีการยกฉัตรทองคำหนัก 4,750 บาท ประมาณ 60 กิโลกรัม คิดเป็นเงินมูลค่า 23,750,000 บาท โดยมีสมเด็จพระมหามุณีวงศ์ เจ้าคณะภาค 8 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีฯพณฯ พลตรีศรชัย มนตริวัต รัฐมนตรีช่วงว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์ - ถอดหมวก ถอดรองเท้า - อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์ - กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ - ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์ - กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้ - ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์ - กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย - ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมา เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น. พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม พิกัด GPS ละติจูด: 16.331568 ลองจิจูด: 104.320196 1.รถส่วนตัว จากตัวเมืองร้อยเอ็ด นั้นใช้เส้นทาง ร้อยเอ็ด - โพนทอง – หนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136 ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึงอำเภอหนองพอกต่อไป ยังบ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย และขึ้นเขาเขียวไปอีก 5 กม. ก็จะถึงวัดเจดีย์ชัยมงคลสถานที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล 2.รถประจำทาง สถานีขนส่งสายตะวันออก เฉียงเหนือ สายที่ผ่านอำเภอหนองพอก จะเป็น กรุงเทพฯ-มุกดาหาร ถ้าเป็นกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด จะถึงแค่อำเภอเมือง จากนั้นเหมารถสองท้องถิ่นในอำเภอเพื่อเดินทางไปยังวัดมหาเจดีย์ชัยมงคล
ภาพถ่ายพระมหาเจดีย์ชัยมงคล












พระธาดาอำนวยเดช
พระธาดาอำนวยเดช เจ้าเมือง(นายอำเภอ)คนแรก ของอำเภอจตุรพักตรพิมาน พระธาดาอำนวยเดช (พรหม) ผู้สร้างเมืองและเป็นเจ้าเมืองคนแรก ชาวเมืองจตุรพัตรพิมานนิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "ท้าวพรหมมา" เป็นบุตรของพระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ลำดับที่ 12 กับ ญาแม่โซ่นแป้ เกิดเมื่อปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในขณะบิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลแก่พระสกนิกร ส่วนบรรดาเจ้าเมืองได้นามสกุลพระราชทาน พระธาดาอำนวยเดชจึงไดัรับพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณธาดา ซึ่งคำว่า สุวรรรณ ที่แปลว่าทอง ท้าวพรหมเป็นเชื้อสายมาจากสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า ธาดา ได้รับจารึกในใบพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2462 ขณที่มีอายุ 67 ปี พระธาดาอำนวยเดช (พรหม สุวรรณธาดา) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2471 ด้วยโรคชรา ศิริอายุได้ 76 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอ จตุรพักตรพิมาน ซึ่งท่านเป็นผู้สร้าง ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ประว้ติ พระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีบอกขอตั้งอุปฮาด (สุวอ) เมืองธวัชบุรี น้องพระธำนงไชยธวัช (โพธิราช) เป็นพระธำนงไชยธวัชเมืองธวัชบุรี วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 อุตราสาตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้อุปฮาด (สุวอ) เป็นพระธำนงไชยธวัช เจ้าเมืองธวัชบุรี พระราชทานถาดหมากคนโทเงินสำรับ 1 สัปทนแพรหลินแดง 1 เสื้อเข้มขาบริ้วขอ 1 แพรขาวห่มเพลาะ 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ 1 ผ้าม่วงจีน 1 พระขัติยวงษา (เสือ) เจ้าเมือง ราชวงษ์ (เคือ) ราชบุตร (อุปชิต) เมืองร้อยเอ็ดถึงแก่กรรมในระหว่างปีนี้ ยังคงอยู่แต่อุปฮาด (เภา) รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดต่อไป พระรัตนวงษา (คำสิง) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีบอกขอตั้ง บ้านเมืองหงษ์เป็นเมือง ขอหลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) ผู้ช่วย ผู้บุตรเป็นเจ้าเมือง แลขอพระศรีวรราช (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาด เมืองสุวรรณภูมิ วันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านเมืองหงษ์เป็นเมืองจัตุรภักตร์พิมาน ให้หลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) เป็นพระธาดาอำนวยเดชเจ้าเมือง ขึ้นเมืองสุวรรณภูมิ พระราชทานเครื่องยศตามบันดาศักดิ์ แล้วพระธาดาอำนวยเดชได้อพยพครอบครัวไปตั้ง ที่ว่าการเมืองอยู่ที่บ้านเปลือยหัวช้าง ทางห่างกันกับบ้านเมืองหงษ์ประมาณ 90 เส้น หาได้ไปตั้งที่ว่าการเมืองอยู่บ้านเมืองหงษ์ตามกระแสตราโปรดเกล้า ฯ พระยาอำนวยเดช (พรม) เกิดปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2413 ขณะท้าวพรหมมามีอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นท้าวมหาไชย ตำแหน่งราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ เมื่อมีอายุ 22 ปีรับราชการที่เมื่องสุวรรณภูมิ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพรหมพิทักษ์ ต่อมา พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ยกบ้านเมืองหงห์ เป็นเมืองของหลวงพิทักษ์ และขอพระศรีราชา (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาดให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ระยะทาง 50 ก.ม. วันจันทร์ที่ - ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2425 พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมือง แต่มิได้ตั้งที่ว่าการเมืองตามพระกระแสตราโปรดเกล้าฯ พระธาดาอำนวยเดช (หลวงพรหมพิทักษ์) กับพระศรีราชา (สอน) ได้มาตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่ บ้านเปลือยหัวช้าง ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนามเจ้าเมืองคือ “ท้าวพรหม” ชื่อเมือง “จตุรพักตรพิมาน” ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีสี่หน้า พระธาดาอำนวยเดช เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2443 ต่อมาทางการได้ยุบเมืองให้เป็น อำเภอ ขึ้นตรงกับ เมืองร้อยเอ็ดเพราะระยะทาง เพียง 26 ก.ม บรรดาศักดิ์ ท้าวพรหมมา ตำแหน่ง ราชบุตรในปีพ.ศ. 2413 ขณะนั้นอายุ 18 ปี ท้าวมหาไชย ตำแหน่ง ราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ หลวงพรหมพิทักษ์ ตำแหน่ง อัครวงษ์ เมืองเกษตรวิสัย ในปีพ.ศ. 2415 ขณะนั้นอายุ 20 - 22 ปี พระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมืองจตุรพักตรพิมาน ในปีพ.ศ. 2425 ตรงกับ จัตวาศก จุลศักราช 1244 ขณะนั้นอายุ 30 ปี ครั้นปีอายุ 60 ปี ในพ.ศ. 2455 เกษ๊ยณอายุราชการ และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น กรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ดมีหน้าที่ให้การปรึกษาข้อราชการงานเมือง
ภาพถ่ายพระธาดาอำนวยเดช