×
แชทกับหน่วยงาน
เทศบาลตำบลดงแดง
ยินดีให้บริการค่ะ....
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ตราสัญลักษณ์ เทศบาลตำบลดงแดง


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล 1. เทศบาลตำบลดงแดง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอจตุรพักตรพิมาน ระยะทางห่างจากอำเภอจตุรพักตรพิมาน 7 กิโลเมตร 2. เนื้อที่ตำบลดงแดงมีเนื้อที่ประมาณ 41.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,025 ไร่ 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศ ตำบลดงแดงมีสภาพพื้นที่เป็นที่เนิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนหินลูกรัง มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลน้ำใส และอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดงกลางและตำบลป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสรวง และอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศของตำบลดงแดง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และหนาวเย็นมากในฤดูหนาว เดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุด คือ เดือนเมษายน และหนาวเย็นที่สุด คือ เดือนมกราคม 1.4 ลักษณะของดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนหินลูกรัง 2.ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านดงแดง นายไพวัน เชิงสะอาด ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 065-490-3762 หมู่ที่ 2 บ้านผือฮี นายสำลี สมใจ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 091-771-3249 หมู่ที่ 3 บ้านเขวา นายมานิตย์ ทองเกษม ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 085-745-4226 หมู่ที่ 4 บ้านกอก นางบล พันธุ์สาง ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 098-1024029/086-9872659 หมู่ที่ 5 บ้านงูเหลือม นางสาวดวงใจ จันทร์คูเมือง ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 086-345-1563 หมู่ที่ 6 บ้านหนองเพียขันธ์ นางสาววิมล นพมเขต ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 061-674-2111 หมู่ที่ 7 บ้านเหล่าจั่น นายวิเชียร สารางคำ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 089-577-5096 หมู่ที่ 8 บ้านดงแดง นายอาคม บุญศรี ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 087-204-6963 หมู่ที่ 9 บ้านเหล่าจั่น นายสัญญา พิมพ์สินธุ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 098-032-4798 หมู่ที่ 10 บ้านเขวา นายบังอร ภูสังข์ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 081-056-7891 หมู่ที่ 11 บ้านผือฮี นางกัลทิมา วงค์อามาตย์ กำนันตำบลดงแดง หมายเลขโทรศัพท์ 081-799-9665 หมู่ที่ 12 บ้านงูเหลือม นายสากล ทองแสง ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 091-053-4865 หมู่ที่ 13 บ้านดงแดง นางสาวเบญจวรรณ วรขันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 063-675-2602 หมู่ที่ 14 บ้านดงแดง นายสมบัติ เชิงสะอาด ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 084-956-0627 หมู่ที่ 15 บ้านกอก นายธรรมศรี สมบัติบาน ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 062-594-7566 หมู่ที่ 16 บ้านดงแดง นายทูน วรรณสินธุ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ 089-274-4684 2.2 การเลือกตั้ง มีทั้งหมด 2 เขตเลือกตั้ง 16 หน่วยเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 6 7 8 9 13 14 16 เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 3 4 5 10 11 12 15 3. ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2421 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 8766 คน ชาย 4273 คน หญิง 4482 คน โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม 1 บ้านดงแดง 195 305 332 646 2 บ้านผือฮี 174 280 328 608 3 บ้านเขวา 78 152 157 309 4 บ้านกอก 149 258 257 515 5 บ้านงูเหลือม 265 443 455 898 6 บ้านหนองเพียขันธ์ 179 288 292 580 7 บ้านเหล่าจั่น 129 226 208 434 8 บ้านดงแดง 168 248 283 531 9 บ้านเหล่าจั่น 166 317 321 638 10 บ้านเขวา 103 195 202 397 11 บ้านผือฮี 136 230 232 462 12 บ้านงูเหลือม 192 318 339 657 13 บ้านดงแดง 148 233 245 478 14 บ้านดงแดง 175 286 306 592 15 บ้านกอก 112 180 203 383 16 บ้านดงแดง 142 243 258 501 รวม 2511 4206 4424 8630 * ข้อมูล ณ วันที่ 25/11/2567สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลดงแดง 4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา 4.1.1 โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง 4.1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง 4.1.3 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง 4.1.4 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส) 1 แห่ง 4.2 สาธารณสุข 4.2.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง 4.2.2 ศูนย์ ศสมช. 16 หมู่บ้าน 4.3 อาชญากรรม 4.3.1 จุดตรวจประจำหมู่บ้าน 4.4 การสังคมสงเคราะห์ 4.4.1 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 1593 คน 4.4.2 เบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน 312 คน 4.4.3 เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 2 คน 4.4.4 รับลงทะเบียนเด็กแรกเกิด และประสานเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 306 คน (ที่มา งานพัฒนาชุมชน ข้อมูล ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564) 5.ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง ทางหลวงชนบท ถนนสายบ้านอ้น-ดอนกลาง ถนนสายหลักที่ติดต่อกับอำเภอมี 1 สาย เป็นถนนลาดยาง 5.2 การไฟฟ้า ตำบลดงแดงได้รับการบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเมืองสรวง ประกอบด้วยบ้านงูเหลือม บ้านเหล่าจั่น บ้านกอก บ้านเขวา บ้านผือฮี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอจตุรพักตรพิมาน หมู่บ้านที่ใช้บริการ คือ บ้านดงแดง และบ้านหนองเพียขันธ์ มีไฟฟ้าใช้ทั่วถึงทั้ง 16 หมู่บ้าน และกำลังพัฒนาขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรในทุกหมู่บ้านในเขตตำบล 5.3 การประปา การประปา บ้านดงแดงหมู่ที่ 1,14 ได้รับการบริการการประปาจากเทศบาลตำบลดงแดงและหมู่บ้านอื่นๆในเขตตำบลได้อาศัยแหล่งน้ำใต้ดินทำเป็นประปาหมู่บ้าน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนและขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงและก่อสร้างต่อไป 5.4 โทรศัพท์ ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลดงแดง ได้รับการบริการจากองค์การโทรศัพท์จังหวัดร้อยเอ็ด มีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านงูเหลือม บ้านเหล่าจั่น บ้านดงแดง 5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ 5.5.1 มีไปรษณีย์ตำบลดงแดง จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 269 หมู่ที่ 1 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับการผลิตภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทำนาข้าว ปลูกต้นหอม อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ การปลูก-ผัก การปลูกยาเตอร์กิ๊ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ และทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 6.2 การประมง คลองร่องข้าวเหนียว คลองร่องแสง บ้านเหล่าจั่น , หนองวัดเก่า บ้านเขวา หมู่ 10 ,หนองคางคก หนองสะเทียง บ้านเขวา หมู่ 3 ,หนองแวง บ้านดงแดง หมู่ 8 ,หนองเอียด บ้านดงแดง หมู่ 1,13 6.3 การปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ไว้ใช้จำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน เช่น โค กระบือ ไก่ เป็ด สุกร ปลาดุก กบ เป็นต้น 6.4 การบริการ - 6.5 การท่องเที่ยว 6.5.1 หอไตร วัดไตรภูมิ บ้านผือฮี 6.5.2 ป่าชุมชนดงหนองเอียด บ้านดงแดง 6.6 อุตสาหกรรม 6.6.1 ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้า จำนวน 3 แห่ง 6.6.2 โรงงานผลิตน้ำดื่ม/น้ำแข็ง จำนวน 1 แห่ง 6.6.3 โรงงานแปรรูปไม้ จำนวน 1 แห่ง 6.6.4 ร้านขายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง 6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ พื้นที่เทศบาลตำบลดงแดง เป็นชุมชนเกษตรส่วนใหญ่ มีร้านค้าอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งตลาดนัดตามหมู่บ้านต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่ 7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดงแดงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด จำนวน 12 แห่ง 7.2 ประเพณีและงานประจำปี งานประเพณีของตำบลดงแดง จะมีงานประจำปี บุญเดือน 3 คือ งานบวงสรวงพระพรหม ที่ร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ ประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆ งานประเพณีบุญผะเหวด ที่ถือว่าเป็นงานบุญสำคัญของแต่ละหมู่บ้านและเป็นงานประเพณีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ,ประเพณีทอดเทียนรวม ที่จัดในช่วงเดือน 10 (ตุลาคม) ของทุกปี 7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลดงแดง ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษและปัจจุบันยังไม่ลบเลือนหายไป ยังมีลูกหลานสานต่อและสืบทอดต่อๆ กันมา คือ ด้านเกษตรกรรม มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ โดยการนำภูมิ-ปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ในการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น และการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกันไปกับการทำหุ่นไล่กา ด้านหัตถกรรม มีการทำเครื่องจักรสาน การทอเสื่อ การทอผ้ามัดหมี่ การถนอมอาหาร มีการถนอมอาหารเพื่อการเก็บและรักษาอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหาร หรือป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ในขณะที่ยังรักษาคุณค่าทางโภชนาการ สีสันและกลิ่นให้คงอยู่ เช่น การดอง การตาก การกวน และการแช่อิ่ม เป็นต้น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คือ ภาษาอิสาน และใช้ภาษากลาง ในการติดต่องาน/ราชการ 7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก 7.4.1 ผ้าไหมมัดหมี่ 7.4.2 กระติบข้าว 7.4.3 กระเป๋าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย 8. ทรัพยากรธรรมชาติ 8.1 น้ำ คลอง 2 แห่ง บึง , หนอง 14 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 18 แห่ง 8.2 ป่าไม้ ป่าไม้ในเขตตำบลดงแดงเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้หลากหลายชนิด ประกอบด้วย ไม้แดง ไม้ชาด ไม้จิก ไม้ลำดวน ไม้หม้อ เป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 900 ไร่ 8.3 ภูเขา ในเขตตำบลดงแดงไม่มีภูเขา 8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ตำบลดงแดง ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ส่วนทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ โดยทั่วไปยังมีความอุดมสมบูรณ์

local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
แผ่นพับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและสินค้า OTOP ตำบลดงแดง



ชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี บ้านผือฮี หมู่ที่ 11 หอไตรพันปี มากมีผลิตภัณฑ์ สืบสานวัฒนธรรม ชุมชน OTOP นวัตวิถี บ้านผือฮี หมู่ ที่ 11 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน






ข้อมูลติดต่อ
ที่อยู่:บ้านผือฮี หมู่ 11 ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด 45180 เบอร์โทรศัพท์:0817999665

ป่าชุมชนดงหนองเอียด
ป่าดงหนองเอียด ป่าชุมชนดงหนองเอียดเป็นป่าชุมชนสาธารณประโยชน์ ได้รับการรังวัด และออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 เลขที่ 10685 มีเนื้อที่จำนวน 667ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา (หนองบัวปัดน้ำสาธารณประโยชน์)

ภาพถ่ายป่าดงหนองเอียด












วัดไตรภูมิบ้านผือฮี
ตามประวัติได้บอกไว้ว่า วัดไตรภูมิตั้งอยู่ที่บ้านผือฮี หมู่ที่ 11 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวัดเก่าแก่ มีหอไตรกลางน้ำอายุกว่า 1,000 ปี ซ่ึงหอไตรดังกล่าวเป็นที่เก็บพระคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นอักษร ภาษาโบราณ บางคนเรียกว่าตัวธรรม ซึ่งมีผู้เฒ่าบางคนเท่านั้นที่สามารุอ่านออก โดยบอกเล่าต่อกันมาว่า เป็นบันทึกเรื่องเกี่ยวกับตำรายาโบราณ เป็นต้น และยังมีพระอุโบสถเก่าอีก 1 หลัง ซึ่งหอพระไตรปิฎกหลังนี้นั้น ได้มีการชำรุดไปบ้างบางส่วน โดยเจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านได้ทำการเปลี่ยนเสาแล้วนำลูกกรงมาใส่ด้านข้างของหอพระไตรปิฎกนั้น ปัจจุบันมีพระครูศุภจริยาภิวัตน์ (สมพิษ สวโจ) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลดงแดง วัดไตรภูมิเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษา ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนได้มาใช้ศาลาการเปรียญของที่วัด เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและอบรกิจกรรมต่างๆ อยู่เป็นประจำ และในตอนนี้พระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาสได้ก่อสร้างศาลาปฏฺบัติธรรมขึ้นอีก 1 หลัง เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตลอดทั้งใช้ประชุมและอบรมเยาวชนทั้งในอำเภอจตุรพักตรพิมานและใกล้เคียงโดยวัดยังเป็นศูนย์ศึกษาศาสนาวันอาทิตย์ ซ่ึงมีนักเรียนประมาณ 1,000 คน วัดไตรภูมิตั้งขึ้นเมื่อปี 2431 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการสร้างหอไตรและสิมตามลำดับ หอไตรวัดไตรภูมิ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2540 ลักษณะของหอไตร ตั้งอยู่กลางน้ำ สร้างด้วยไม้ อยู่บนผนังสี่เหลี่ยมจตุรัสหันไปทางทิศใต้ พื้นที่ตรงกลางทำเป็นห้องโถงไว้เก็บคัมภีร์โบราณ ทำลวดลายปิดทองผนังโดยรอบ ส่วนบริเวณภายนอกห้องโถงให้เป็นทางเดินและทำระเบียงติดกรงรอบด้าน หลังคามุงทรงมลฑปซ้อนชั้นหลังคาจตุรมุข โดยแต่เดิมหลังคามุงได้กระเบื้องดินขอ ต่อมาเปลี่ยนเป็นไม้และกระเบื้องดินเผาในปัจจุปัน ลักษณะของสิม มีลักษณะเป็นสิมโปร่ง ฐานทำเอวขัน โครงสร้างส่วนเครื่องบนและเครื่องประกอบสถานปัตยกรรมต่างๆทำด้วยไม้ และแกะสลักกลายตามความนิยมพื้นถิ่น หลังคาจั่วมีปีกนกโดยรอบโดยแต่เดิมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินขอ จากนั้นเปลี่ยนเป็นสังกะสีและเป็นกระเบื้องดินเผาในปัจจุบัน

ภาพถ่ายวัดไตรภูมิบ้านผือฮี




บึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนา ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามาเมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 12-15 มี หลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน ในพุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรม จากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก แต่หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อ มาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์ เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอ มาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้ บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งด้วยสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ ภาย ในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ด มากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ นาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด

ภาพถ่ายบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด


พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐม เจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์ ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์ ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรีเคยบำเพ็ญธรรมมา ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร แห่งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงรวบรวมเรื่องราวของครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นศูนย์กลางสำหรับไว้ให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสักการะบูชาสืบไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและพลังศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และต่อหลวงปู่ศรีของชาวร้อยเอ็ด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ซึ่งร่วมใจบริจาคทรัพย์ตามกำลังจนเกิดเป็นพระมหาเจดีย์ยิ่งใหญ่ดังที่เห็น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ปีพุทธศักราช 2531 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้มีบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2531 มีการยกฉัตรทองคำหนัก 4,750 บาท ประมาณ 60 กิโลกรัม คิดเป็นเงินมูลค่า 23,750,000 บาท โดยมีสมเด็จพระมหามุณีวงศ์ เจ้าคณะภาค 8 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีฯพณฯ พลตรีศรชัย มนตริวัต รัฐมนตรีช่วงว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์ - ถอดหมวก ถอดรองเท้า - อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์ - กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ - ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์ - กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้ - ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์ - กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย - ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมา เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น. พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม พิกัด GPS ละติจูด: 16.331568 ลองจิจูด: 104.320196 1.รถส่วนตัว จากตัวเมืองร้อยเอ็ด นั้นใช้เส้นทาง ร้อยเอ็ด - โพนทอง – หนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136 ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึงอำเภอหนองพอกต่อไป ยังบ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย และขึ้นเขาเขียวไปอีก 5 กม. ก็จะถึงวัดเจดีย์ชัยมงคลสถานที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล 2.รถประจำทาง สถานีขนส่งสายตะวันออก เฉียงเหนือ สายที่ผ่านอำเภอหนองพอก จะเป็น กรุงเทพฯ-มุกดาหาร ถ้าเป็นกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด จะถึงแค่อำเภอเมือง จากนั้นเหมารถสองท้องถิ่นในอำเภอเพื่อเดินทางไปยังวัดมหาเจดีย์ชัยมงคล

ภาพถ่ายพระมหาเจดีย์ชัยมงคล













พระธาดาอำนวยเดช
พระธาดาอำนวยเดช เจ้าเมือง(นายอำเภอ)คนแรก ของอำเภอจตุรพักตรพิมาน พระธาดาอำนวยเดช (พรหม) ผู้สร้างเมืองและเป็นเจ้าเมืองคนแรก ชาวเมืองจตุรพัตรพิมานนิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "ท้าวพรหมมา" เป็นบุตรของพระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ลำดับที่ 12 กับ ญาแม่โซ่นแป้ เกิดเมื่อปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในขณะบิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลแก่พระสกนิกร ส่วนบรรดาเจ้าเมืองได้นามสกุลพระราชทาน พระธาดาอำนวยเดชจึงไดัรับพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณธาดา ซึ่งคำว่า สุวรรรณ ที่แปลว่าทอง ท้าวพรหมเป็นเชื้อสายมาจากสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า ธาดา ได้รับจารึกในใบพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2462 ขณที่มีอายุ 67 ปี พระธาดาอำนวยเดช (พรหม สุวรรณธาดา) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2471 ด้วยโรคชรา ศิริอายุได้ 76 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอ จตุรพักตรพิมาน ซึ่งท่านเป็นผู้สร้าง ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ประว้ติ พระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีบอกขอตั้งอุปฮาด (สุวอ) เมืองธวัชบุรี น้องพระธำนงไชยธวัช (โพธิราช) เป็นพระธำนงไชยธวัชเมืองธวัชบุรี วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 อุตราสาตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้อุปฮาด (สุวอ) เป็นพระธำนงไชยธวัช เจ้าเมืองธวัชบุรี พระราชทานถาดหมากคนโทเงินสำรับ 1 สัปทนแพรหลินแดง 1 เสื้อเข้มขาบริ้วขอ 1 แพรขาวห่มเพลาะ 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ 1 ผ้าม่วงจีน 1 พระขัติยวงษา (เสือ) เจ้าเมือง ราชวงษ์ (เคือ) ราชบุตร (อุปชิต) เมืองร้อยเอ็ดถึงแก่กรรมในระหว่างปีนี้ ยังคงอยู่แต่อุปฮาด (เภา) รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดต่อไป พระรัตนวงษา (คำสิง) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีบอกขอตั้ง บ้านเมืองหงษ์เป็นเมือง ขอหลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) ผู้ช่วย ผู้บุตรเป็นเจ้าเมือง แลขอพระศรีวรราช (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาด เมืองสุวรรณภูมิ วันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านเมืองหงษ์เป็นเมืองจัตุรภักตร์พิมาน ให้หลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) เป็นพระธาดาอำนวยเดชเจ้าเมือง ขึ้นเมืองสุวรรณภูมิ พระราชทานเครื่องยศตามบันดาศักดิ์ แล้วพระธาดาอำนวยเดชได้อพยพครอบครัวไปตั้ง ที่ว่าการเมืองอยู่ที่บ้านเปลือยหัวช้าง ทางห่างกันกับบ้านเมืองหงษ์ประมาณ 90 เส้น หาได้ไปตั้งที่ว่าการเมืองอยู่บ้านเมืองหงษ์ตามกระแสตราโปรดเกล้า ฯ พระยาอำนวยเดช (พรม) เกิดปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2413 ขณะท้าวพรหมมามีอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นท้าวมหาไชย ตำแหน่งราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ เมื่อมีอายุ 22 ปีรับราชการที่เมื่องสุวรรณภูมิ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพรหมพิทักษ์ ต่อมา พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ยกบ้านเมืองหงห์ เป็นเมืองของหลวงพิทักษ์ และขอพระศรีราชา (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาดให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ระยะทาง 50 ก.ม. วันจันทร์ที่ - ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2425 พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมือง แต่มิได้ตั้งที่ว่าการเมืองตามพระกระแสตราโปรดเกล้าฯ พระธาดาอำนวยเดช (หลวงพรหมพิทักษ์) กับพระศรีราชา (สอน) ได้มาตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่ บ้านเปลือยหัวช้าง ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนามเจ้าเมืองคือ “ท้าวพรหม” ชื่อเมือง “จตุรพักตรพิมาน” ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีสี่หน้า พระธาดาอำนวยเดช เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2443 ต่อมาทางการได้ยุบเมืองให้เป็น อำเภอ ขึ้นตรงกับ เมืองร้อยเอ็ดเพราะระยะทาง เพียง 26 ก.ม บรรดาศักดิ์ ท้าวพรหมมา ตำแหน่ง ราชบุตรในปีพ.ศ. 2413 ขณะนั้นอายุ 18 ปี ท้าวมหาไชย ตำแหน่ง ราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ หลวงพรหมพิทักษ์ ตำแหน่ง อัครวงษ์ เมืองเกษตรวิสัย ในปีพ.ศ. 2415 ขณะนั้นอายุ 20 - 22 ปี พระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมืองจตุรพักตรพิมาน ในปีพ.ศ. 2425 ตรงกับ จัตวาศก จุลศักราช 1244 ขณะนั้นอายุ 30 ปี ครั้นปีอายุ 60 ปี ในพ.ศ. 2455 เกษ๊ยณอายุราชการ และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น กรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ดมีหน้าที่ให้การปรึกษาข้อราชการงานเมือง

ภาพถ่ายพระธาดาอำนวยเดช


info_outline ผลิตภัณฑ์ตำบล
เฟอร์นิเจอร์ไม้
ประเภทเครื่องใช้ในบ้านต่างๆ คุณสมบัติ ทำจากไม้เนื้อดี สถานที่จำหน่าย บ้านเหล่าจั่น ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด โทร.0-436-510-33

พรมเช็ดเท้า ปลอกหมอน
รูปแบบ พรมเช็ดเท้า ปลอกหมอน คุณสมบัติ ผลิตจากเศษผ้าเนื้อดี สนใจติดต่อ คุณกัลทิมา วงค์อามายต์ บ้านผือฮี ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด โทร. 01-7999-665

ธูปหอม
"ธูปหอม" ถือเป็นสินค้า OTOP ตำบลดงแดง ที่สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันอาชีพการผลิตธูปหอมมีการนำไปถ่ายทอดให้กับผู้สนใจในหลายหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลดงแดง มีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ส่งออกตลาดต่างประเทศ และมีหลากหลายยี่ห้อ ประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2500 บ้านงูเหลือม หลังจากการทำไรทำนาเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อยแล้วส่วนใหญ่ก็จะต้องเข้าสู่เมืองกรุง เพื่อรับจ้างหาเงินเลี้ยงครอบครัว อาชีพที่ทำคือการรับจ้างทำธูปหอม เทียวไปเทียวมาตลอดทุกปี ห่างจากครอบครัวไปทำงานหากิน ทุกครอบครัวก็ขาดความอบอุ่น พอเข้าถึงปี พ.ศ. 2515 ชาวบ้านงูเหลือมก็เลยคิดหางานมาทำที่บ้านเกิดเพื่อจะได้อยู่ใกล้กับครอบครัวและนำงานมาทำที่บ้าน เพื่อให้เกิดรายได้ เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในหมู่บ้าน หลายปีต่อมาก็มีคนทำธูปหอมมาขึ้น การค้าขายก็มีกำไรน้อย ต่างคนต่างขาย พ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ผู้นำหมู่บ้านจึงมีแนวคิดประชุมประชาคมปรึกษาหารือซึ่งกันและกันในหมู่บ้านงูเหลือม หมู่ที่ 5 เพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์การผลิตธูปมีราคาสูงจึงได้มีการรวมกลุ่มลงหุ้น ให้มีเงินทุนมากขึ้น เพื่อสะดวกในการสั่งซื้อวัสดุที่สั่งซื้อ วัสดุอุปกรณ์ ถ้าสั่งซื้อจำนวนมากจะได้ราคาถูกกว่าเป็นการลดต้นทุนในการผลิต สำหรับขั้นตั้นการผลิตธูปหอม พื้นที่ทั่วไปมีดังนี้ ขั้นตอนที่ "ปาตี้ธูป" นำไม้ก้านธูปที่เตรียมไว้มาแช่น้ำให้ถึงส่วนที่กำหนดไว้ที่จะทำเป็นเนื้อธูปและขาธูปแล้วนำไปคลุกกับ"ก่อแดง"(มีลักษณะเหนียวคล้ายกาวแต่เป็นฝุ่นเหมือนแป้ง)เมื่อคลุกจนรู้สึกว่าไม้ก้านธูปกับ"ก่อแดง"ติดกันดีแล้วให้ทำการ "เตาะธูป" (เป็นขั้นตอนการทำให้เนื้อธูปติดกันกับไม้ก้านธูปโดยการปั่นหรือกลิ้งไปมาในแขนจนเนื้อธูปติดกันกับไม้ก้านธูป) ขั้นตอนที่ 2 "การก่ายแดง" นำธูปในขั้นตอนที่ 1 มาแช่น้ำให้ถึงส่วนที่เป็นเนื้อธูปแล้วนำไปคลุกกับ "บั้ว" (คือการนำเอาขี้เลื้อยผสมน้ำผสมก่อแดงและคนให้เข้ากัน)เมื่อคลุกจนรู้สึกว่าเนื้อธูปกับ "บั้ว"ติดเข้ากันดีแล้ว ให้ทำการ "เตาะธูป" เพื่อให้เนื้อธูปติดแน่นเข้ากันกับไม้กัานธูป ทำตามขั้นตอนที่ 2 ประมาณ 3 รอบ เพื่อให้ได้ขนาดธูปตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 3 "การก่ายขาว" การ นำธูปที่ผ่านขั้นตอนที่ 2 แล้วไปแช่น้ำให้ถึงส่วนที่เป็นเนื้อธูปแล้วนำไปคลุกกับ "จันทร์ขาว" (ถ้าต้องการธูปสีอะไรให้ผสมจันทร์กับสีนั้นตามต้องการ)เมื่อคลุกจนเนื้อธูปติดเข้ากันกับจันทร์ขาวดีแล้ว ให้ทำการ "เตาะธูป" ขั้นตอนที่ 4 "ตากธูป" การนำธูปออกไปตากแตด นำธูปที่ผ่านขั้นตอนที่ 3 แล้วออกไปตากแตดในที่การแจ้ง ขั้นตอนที่ 5 "จุ่มขาธูป" การนำธูปที่ตากให้เนื้อธูปแห้งสนิทดีแล้วมาทำการย้อมส่วนที่เป็นขาธูปด้วยสีตามต้องการ ขั้นตอนที่ 6 "กำธูป" การกำธูป คือการนำเอาธูปมากำหนดขนาด แยกประเภท โดยการใช้สายวัดหรือ ใช้ ตราชั่ง ในการกำหนดขนาด ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 7 "ห่อธูป" การบรรจุหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์โดยการใช้พลาสติกหรือกระดาษในการบรรจุ ข้อมูลจาก http://comedu5.blogspot.com/2011/10/blog-post.html

ต้นหอม
ต้นหอมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน และพี่น้องชาวเกษตรกรที่หันมาประกอบอาชีพนี้แทนการปลูกข้าว เนื่องจากสถาพพื้นดินบางแบ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่สามารถปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตตามต้องการได้ ปัจจุบันเกษตรกร บ้านกอกได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมขึ้นเพื่อเป็นตลาดในการจำหน่าย และลดการตรึงราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้ผู้ปลูกหอมมีรายได้มากขึ้น เพราะมีรูปแบบการซื้อขายแบบยกสวน ท่านที่สนใจสอบถามรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ เทศบาลตำบลดงแดง โทร 043-651033

info ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านผือฮี
ปีที่เข้าร่วม 2558 ที่ตั้ง หมู่ที่ 11 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกลุ่ม นางกัลทิมา วงศ์อามาตย์ สมาชิกกลุ่ม 35 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป กิจกรรมระดับครัวเรือน -ทำนา -เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กระบือ โคเนื้อ เป็ด ไก่ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง -ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า มะเขือ มะละกอ หน่อไม้ ต้นหอม ข่า โหรพา สะระแหน่ ตะไคร้ เป็นต้น -ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม -การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายวัน) กิจกรรมกลุ่ม ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม -การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม -การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม ด้านการผลิตของกลุ่ม -การทำฟาร์มชุมชน ประกอบด้วย เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักตามฤดูกาล -ข้าวสาร -ทำขนมโดนัทจากแป้งข้าวหอมมะลิ -การทำกระเป๋าผ้า -การทำน้ำยาล้างจาน -การทำแชมพูสระผมสมุนไพร -การแปรรูป ได้แก่ ไข่เค็มใบเตย -การทำน้ำหมักชีวภาพ ด้านการเงินและบัญชี -การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 20 บาท -ระดมหุ้นปีละ 120 บาท -การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน) การพระราชทานความช่วยเหลือ -พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท

ภาพถ่ายกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านผือฮี







ความหมายและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบและร่วมภูมิใจกับบุคลในท้องถิ่นด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเป็นการดำรงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นโดยมีการปรับสภาพการดาเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติตามกาลเวลา ความหมายของภูมิปัญญา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญาไว้ว่า “พื้นความรู้ความสามารถ” ภูมิปัญญาหมายถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญา ชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้น ภูมิปัญญาหมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือ ทรัพยากรความรู้ก็ได้ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้นส่วนทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นคำที่รู้จักกันมานานพอสมควร เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง หลายแง่มุม ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ในแง่มุมต่างกัน ดังนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือปัญญาชนชาวบ้านหรือปัญญาชนท้องถิ่น (Intellectual Organic) หมายถึง “พื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์สืบเนื่องต่อกันมาทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเองหรือทางอ้อมซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา” (สามารถ จันทร์สูรย์,๒๕๓๓ อ้างถึงใน สำเนียง สร้อยนาคพงษ์,๒๕๓๕:๒๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาแห่งชีวิต ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน เพราะสังคมเปรียบเสมือนมนุษย์ หากไม่มีสอนหรือปัญญาย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ (ประเวศ วสี,๒๕๓๔) อ้างถึงใน นิลุบล คงเกตุ,๒๕๔๐ หน้า ๔๓) วันเพ็ญ พวงพันธุ์บุตร (๒๕๔๒:๑๐๘) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึงองค์ความรู้ทั้งหลายที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาของชาติไทย โดยการคิดค้นปรับเปลี่ยนผสมผสานกับ ความรู้ใหม่ และพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๓:๒๐๔) ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรรเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย รัตนะ บัวสนธิ์ (๒๕๓๕:๓๕) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงกระบวนทัศน์ชองบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานจากคาสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง แต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดทำ โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑) ได้จำแนกไว้รวม ๑๐ สาขา คือ ๑. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร เป็นต้น ๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น ๓. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ ๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน ๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ๖. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๗. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น ๘. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล ๙.สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท ๑๐. สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล และสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น